วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

รายชื่อสมาชิก

น.ส.สิริกัญญา โล่สุวรรณ ม.4/4 เลขที่ 28
น.ส.ชลฤทัย    หุ่นดี       ม.4/4 เลขที่ 30

บทที่ 6 เรื่อง จริยธรรมและความปลอดภัย

จริยธรรมและพระราชบัญญัติฯคอมพิวเตอร์

  จริยธรรม(Ethics)ใน ความหมายทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางการใช้คอมพิวเตอร์กระทำในสิ่งที่ถูกต้อง และหลีกเลี่ยงการกระทำความผิดต่อผู้อื่น  เช่น การใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ การโฆษณาเกินจริง การกระทำที่ก่อให้เกิดความรำคาญและเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เป็นต้น
       ปัจจุบันมีการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยสรุปลักษณะการกระทำความผิดและบทลงโทษ ดังนี้
1.มาตรา 1-4 กล่าวถึง ข้อกำหนดการใช้และความหมายของคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติฯคอมพิวเตอร์
2.มาตรา 5-17 อยู่ในหมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นมาตราที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั่วไป ซึ่งสามารถสรุปการกระทำความผิดและบทลงโทษได้ดังนี้
                มาตรา 5  ห้ามไม่ให้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่มีมาตรการป้องกัน หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท
                มาตรา 6 ห้ามไม่ให้นำข้อมูลของผู้อื่นไปเผยแพร่จนเกิดความเสียหาย หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท
                มาตรา 7 ห้ามไม่ให้เข้าใช้ข้อมูลของผู้อื่นที่มีมาตรการป้องกัน หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา 8 ห้ามไม่ให้ดักรับข้อมูลของผู้อื่นที่อยู่ในระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลนั้นไม่ได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสำหรับบุคคลทั่วไป หารกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา 9 ห้ามทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย ห้ามทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง และเพิ่มเติมบางส่วนหรือทั้งหมด หากกรทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา 10 ห้ามทำให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวางหรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา 11 ห้ามส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้อื่นโดยปกปิดหรือ ปลอมแปลงแหล่งที่มาของข้อมูล ที่เป็นหารรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น  หากกระทำความผิดปรับไม่เกิน 100,000 บาท
                มาตรา 12 ถ้ากระทำความผิดในมาตรา 9 หรือ 10 แล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ต้องจำคุกไม่เกิน 10 ปี แลปรับไม่เกิน 200,000 บาท แต่หากก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่ เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของประเทศความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะจะต้องจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000-300,000 บาท แต่หากการกระทำความผิดดังกล่าวมีผลทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จะต้องจำคุกตั้งแต่ 10-20 ปี
                มาตรา 13 ห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปเป็นเครื่องมือในการกระทำผิดตาม มาตรา 5-11 หากกระทำความต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.มาตรา 18-30 อยู่ ในหมวด 2 พนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นมาตราที่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการสืบสวน และข้อกำหนดของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดเนินการต่อผู้กระทำความผิด

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

  อาชญากรรมคอมพิวเตอร์(Computer Crime หรือ Cyber Crime) คือ การกระทำความผิดทางกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ซึ่งมีลักษณะการกระทำความผิดและลักษณะผู้กระทำความผิด ดังนี้
ลักษณะการกระทำความผิด
ความผิดด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ คือ การเข้าไปใช้ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่งผล่อความครบถ้วนของข้อมูลและการรักษาความลับ สามารถทำได้ 3 รูปแบบ ได้แก่
1.)การเข้าถึงโดยการเจาะระบบ หรือ การบุกรุกทางคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลนั้นๆ
2.)การ ลักลอบดักข้อมูล คือ การใช้เทคนิคหรืออุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่าย เพื่อลักลอบดักฟัง ตรวจสอบ หรือติดตามข้อมูลที่สื่อสารระหว่างบุคคล
3.)การ รบกวนระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูล คือ การกระทำที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลของผู้อื่น มักใช้วิธีการนำไวรัสเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น และทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นทำงานช้าลงจนกระทั่งไม่สามารถใช้งานได้ เลย
4.)การใช้อุปกรณ์ในทางมิชอบ คือ การกระทำความผิดโดยการผลิต แจกจ่าย จำหน่าย ครอบครองอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ หรือส่งเสริมการกระทำความผิด เช่น อุปกรณ์เจาะระบบ โปรแกรมสำหรับถอดรหัสคอมพิวเตอร์ แต่ไม่รวมถึงอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อการป้องกันระบบหรือทดสอบระบบ
2.การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบ เป็นการกระทำความผิดโดยใช้คอมพิวเตอร์ประกอบอาชญากรรมทุกรูปแบบ
3.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประกอบการกระทำความผิดต่างๆสามารถแบ่งลักษณะการกระทำความผิดได้ 3 ลักษณะ คือ
1.)การ ปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ กล่างถึงตั้งแต่การป้อนข้อมูลที่เป็นเท็จ การปลอมแปลงข้อมูลบางส่วน จนไปถึงการลบหรือย้ายข้อมูลออกจากสื่อที่ใช้ในการบันทึกนั้น
2.)การฉ้อโกง โดยมีเจตนาเพื่อทุจริต แก้ไข เปลี่ยนแปลง ลบ นำเข้า หรือรบกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ผู้อื่น
3.)การทำให้สื่อลามกอนาจารแพร่หลาย เป็นการกระทำความผิดโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ปรากฎแก่ผู้อื่น

ลักษณะผู้กระทำความผิด 
สามารถแบ่งลักษณะผู้กระทำความผิดตามเจตนาของผู้กระทำความผิดได้ ดังนี้
1.)มือสมัครเล่น มักทำความผิดเนื่องจากอยากรู้อยากเห็น หรือความคึกคะนองและไม่ได้ตั้งใจ โดยไม่มีเจตนาร้ายหรือประสงค์ร้ายต่อผู้อื่น
2.)แคร็กเกอร์ คือ ผู้บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น โดยจะพยายามเข้ามาในระบบ และสร้างความเสียหายให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูล
3.)อาชญากรมืออาชีพ จะเป็นคนที่มีความรู้ทางเทคนิคคอมพิวเตอร์ค่อนข้างสูง มีเครื่องมือที่ทันสมัยและเพียบพร้อม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหวังทรัพย์สินของผู้อื่น บางพวกอาจอยู่รวมกันเป็นองค์กร เรียกว่า Organized Crime

แนวทางการป้องกัน
การป้องกันอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติได้ 4 แนวทาง ดังนี้
1.การป้องกันข้อมูลส่วนตัว โดยการตั้งรหัสเข้าข้อมูลของไฟล์ข้อมูลที่ต้องการป้องกัน
2.การป้องกันการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การชื่อ Username และ Password,การใช้สมาร์ทการ์ดในการควบคุมการใช้งาน หรือกุญแจล็อกเพื่อป้องกันการใช้คอมพิวเตอร์โยไม่ได้รับอนุญาติ,การใช้ อุปกรณ์ทางชีวภาพ เช่น ตรวจสอบเสียง ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ลายเซ็ตน์ ม่านตา เป็นต้น
3.การสำรองข้อมูล โดยไม่เก็บข้อมูลไว้ที่เดียว สามารถสำรองไว้ในอุปกรณ์ที่ใช้อ่านอย่างเดียว เช่น แผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี
4.การติดตั้งโปรแกรมค้นหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นการป้องกันที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้หลากหลาย

บทที่ 5 เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ ภาระ ชิ้นงาน หรือกิจกรรมอิสระที่ผู้ทำงานด้านคอมพิวเตอร์สามารถเลือกศึกษาหรือดำเนินการ ตามความสนใจ โดยใช้ความรู้ทักษะ และประสบการณ์ของผู้ทำโครงงาน
องค์ประกอบหลักของภาระ ชิ้นงาน หรือกิจกรรมที่จัดเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์  มีดังนี้
1 มีกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3 มีการปฏิบัติงานตามความสามารถของผู้ทำโครงงาน
4 มีการวางแผน การสรุป และการเสนอผลงาน
          
ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์  แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานได้ ประเภท
 1. โครงงานคอมพิวเตอร์ด้านการศึกษา มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนทางด้านการศึกษา เช่น เว็บไซต์ทางการศึกษา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
 

2. โครงงานคอมพิวเตอร์ด้านเครื่องมือ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้านต่างๆ เช่น โปรแกรมเฉพาะงานด้านต่างๆ อุปกรณ์ที่ส่งเสริมการทำงานทางด้านการแพทย์ 
 
3. โครงงานคอมพิวเตอร์ด้านการทดลองทฤษฎี  ใช้คอมพิวเตอร์ทดลองหรือปฏิบัติงานด้านต่างๆ ก่อนนำทฤษฎีหรือแนวทางปฏิบัติไปใช้จริง
4.  โครงงานคอมพิวเตอร์ด้านการประยุกต์ใช้งาน นำผลลัพธ์ที่ได้จากโครงงานไปใช้ได้จริง
5. โครงงานคอมพิวเตอร์ด้านเกม สร้างความเพลิดเพลินและสนุกสนานเป็นหลัก

บทที่ 4 เรื่อง อินเทอร์เน็ต

            อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และอนุญาตให้มีการเข้าถึงสารสนเทศและการบริการในรูปแบบของสาธารณะ(Public) ผู้ใช้นิยมนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อไปยังModem เพื่อแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านสายโทรศัพท์ไปยังโมเด็มที่เชื่อมต่อกับไอเอสพี(ISP:Internet Service Provider) ซึ่ง ทำหน้าที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ใช้บริการในประเทศแต่ละเครื่องเข้าด้วยกัน แล้วจึงเชื่อมตัวกับระบบเครือข่ายจากทั่วโลกอีกทีหนึ่ง
                ในการเข้าแต่ละเว็ปไซต์จะต้องพิมพ์ยูอาร์แอลของแต่ละเว็ปไซต์ลงไปในแอดเดรสบาร์ โดยมีหมายเลขไอพี เป็นตัวเลข 4 ชุด มีจุดคั่นเลขแต่ละชุด  โดยเลขแต่ละชุดจะมีค่าอยู่ระหว่าง0-255 เช่น 152.168.03.15 แต่เนื่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยาก จึงมีการกำหนดชื่อเพื่อใช้แทน เรียกว่า ระบบชื่อโดเมน เช่น www.google.co.th โดย www. คือ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ saim คือ ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น co คือ ชื่อโดเมนย่อย th คือ รหัสประเทศ
การสืบค้นข้อมูล
         เสิร์ชเอนจิ้น (Search Engines) คือ เครื่องมือที่ช่วยเหลือผู้ใช้งานในการค้นหาข้อมูลต่างๆบนอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ที่เปิดให้บริการ เรียกว่า เสิร์ชเอนจิ้นไซต์(Search Engine Site) มีหลักการทำงานโดยการรวบรวมเอกสารเว็บไซต์ เพื่อ สำรวจเว็บไซต์จากโดเมนต่างๆ แล้วรวบรวมเป็นฐานข้อมูล จัดเป็นรายการดัชนีตามที่ผู้สร่างกำหนด หากมีเว็บไซต์มีการเปลี่ยนแปลงก็จะทำการเปลี่ยนแปลงโดยอัตโนมัติ โดยสามารถแบ่งตามลักษณะฐานข้อมูลออกเป็น 5 ประเภท
1.การค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ เป็นการค้นหาข้อมูลโดยสำรวจข้อความเบื้องต้นของเว็บไซต์ หากตรงกับคำที่ค้นหาก็จะแสดงข้อมูล แสดงได้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่ละเอียด
2.การค้นหาข้อมูลจากหมวดหมู่ เป็นค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ผ่านการวิเคราะห์รายละเอียดของเนื้อหา โดยแยกประเภทเป็นหมวดหมู่ตามวิจารณญาณของผู้สร้าง ช้ากว่าการหาจากคำสำคัญ แต่ตรงตามความต้องการ
3.การค้นหาข้อมูลจากเสิร์ชเอนจิ้นหลายๆเว็บไซต์ เป็นการค้นหาจากการเข้าถึงเว็บไซต์ ที่มีข้อมูลที่ค้นหามาแทนที่โดยตรง ไม่จัดเป็นเสิร์ชเอนจิ้นที่แท้จริง เพราะไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง
4.การค้นหาข้อมูลจากภาษาธรรมชาติ เป็นการพัฒนาเสิร์ชเอนจิ้นให้เข้าใจภาษาธรรมชาติหรือคำถามจากมนุษย์เพิ่มเติมจากการใช้คำสำคัญ
 5.การค้นหาข้อมูลเฉพาะทาง สร้างขึ้นเพื่อค้นหาข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะนำเสนอเฉพาะข้อมูลที่กำหนดไว้เท่านั้น ผู้ให้บริการมักเป็นหน่วยงานหรือองค์กรเฉพาะด้านนั้นๆ ข้อมูลที่ได้จะไม่ได้มาจากเสิร์ชเอนจิ้นอื่น

เทคนิคการค้นหาข้อมูล
เสิร์ชเอนจิ้น-ควรค้นหาจากเสิร์ชเอนจิ้นมากกว่า 1 เว็บไซต์ในช่วงเวลาที่ต่างกัน
วิธีการใช้งาน-ควรศึกษาการใช้งานเสิร์ชเอนจิ้น เพื่อให้สามารถกำหนดค่าของการค้นหาได้ตรงต่อความต้องการมากที่สุด
หัวข้อที่ต้องการ-ควรกำหนดสิ่งที่ต้องการหาให้ชัดเจน
คำสำคัญในการค้นหา-ควรกำหนดคำสำคัญเป็นคำนาม ศัพท์ทางวิชาการ หรือศัพท์ที่ใช้ทั่วไป และหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาพูดในการค้นหา และ ไม่ควรกำหนดคำสำคัญที่มีความหมายกว้างเกินไป
การค้นหา-ควรค้นหาข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกำคำสำคัญด้วย
คำสำคัญที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ คำที่มีตัวเลข หรือ เว้นวรรค  หากจำเป็นต้องใส่เครื่องหมาย “ ” ครอบคำสำคัญนั้นไว้เพื่อรวมคำในเครื่องหมายให้เป็นคำเดียวกัน
การใช้เครื่องหมาย  เติมเครื่องหมายหน้าคำสำคัญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหา เช่น
เครื่องหมาย + เมื่อต้องการให้ค้นหาคำสำคัญอื่นๆเพิ่มเติม
เครื่องหมาย – เมื่อไม่ต้องการให้คำสำคัญนั้นอยู่ในข้อมูลที่ค้นหา
เครื่องหมาย * แทนกลุ่มคำหรือประโยคที่ผู้ใช้ไม่เฉพาะเจาะจง
เครื่องหมาย ~ เพื่อแทนคำสำคัญที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
ตัวกระทำตรรกศาสตร์ ควรเลือกใช้ตัวกระทำทางตรรกศาสตร์เชื่อมคำสำคัญ 2 คำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
1.ควรระลึกเสมอว่าผู้ใช้งานทุกคนในอินเทอร์เน็ตคือมนุษย์ มีอารมณ์และความรู้สึก
2.ควรยึดมารยาทปกติทั่วไปในการดำเนินชีวิต
3.ควรระลึกไว้เสมอว่าไม่มีความลับใดในอินเทอร์เน็ต
4.ควรศึกษาหลักการปฏิบัติหรือกฎข้อบังคับของการใช้อินเทอร์เน็ต
5.ควรคำนึงถึงคุณภาพของข้อมูลที่ส่งไปยังอินเทอร์เน็ตว่ามีประโยชน์หรือคุณค่าหรือไม่
6.ควรเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสม ไม่หยาบคาย ถูกกาลเทศะ
7.ควรใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ
8.ไม่ส่งเสริมให้เกิดความแตกแยกหรือการทะเลาะวิวาทในอินเทอร์เน็ต
9.ควรใช้ข้อมูลตนเองในการเชื่อมต่อ
10.ไม่ใช้ความรู้ ความสามารถ หรืออำนาจทางการทำงานในทางที่ผิด
11.ใช้ข้อมูล ความรู้ และคำแนะนำให้เป็นประโยชน์
12.ควรใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์คุณค่ามากที่สุด
13.การนำข้อมูลมาก ควรมีการอ้างอิงแหล่งที่มา
14.หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นในแง่ลบ
15.ไม่ควรนำความลับของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อสนทนาในอินเทอร์เน็ต
16.ไม่ส่งของความหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์รบกวน
17.ผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จะต้องใช้ภาษาที่สุภาพและเป็นทางการ
18.ไม่เผยแพร่หรือโฆษณาเกินความจริง
19.ไม่นำเสนอหรือส่งเสริมการค้าผิดกฎหมาย
20.ไม่เผยแพร่โปรแกรมหรือไวรัสคอมพิวเตอร์
21.การแสดงความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ตจะต้องมีความรู้ และใช้ถ้อยคำที่สุภาพ
22.การสื่อสารข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ควรติดต่อกลับการสนทนาให้เร็วที่สุด
23.ไม่ควรแสดงความเห็นที่ไม่เหมาะสมต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
24.การตั้งกระทู้ในอินเทอร์เน็ตจะต้องรับผิดชอบกระทู้ของตน
25.ใช้อินเทอร์เน็ตโดยคำนึงถึงสิทธิของผู้อื่น

บทที่ 3 การสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูล(Data Communication) คือ การรับ ส่ง โอน ย้าย หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวสาร(Information) จากผู้ส่งไปยังผู้รับข้อมูล การสื่อสารทุกรูปแบบจะมีองค์ประกอบในการสื่อสาร (Component of Communication) ดังนี้                                                                                                                                                               
1.ผู้ส่งข้อมูล (Sender) คือสิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังจุดที่ต้องการ 
2.ผู้รับข้อมูล (Receiver) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาจากผู้ส่ง
3.ข้อมูล (Data) คือสิ่งที่ผู้ส่งต้องการส่งไปยังผู้รับ ซึ่งอาจเป็นข้อความ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
4.สื่อนำข้อมูลหรือตัวกลาง (Medium) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ
5.โพรโทคอล (Protocol) คือ กฎเกณฑ์ ข้อตกลง หรือวิธีการในการสื่อสารข้อมูลซึ่งผู้ส่งและผู้รับจะต้องตกลงวิธี   การสื่อสารให้ตรงกัน 
ทิศทางการสื่อสาร   
1.การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งแต่เพียงผู้เดียว และผู้รับทำหน้าที่ รับข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว เช่น การฟังวิทยุ การดูโทรทัศน์ และการอ่านหนังสือ                                                                                                                                                            
2.การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่ผู้สื่อสารจะผลัดกันเป็นผู้รับและผู้ส่งข้อมูล โดย ในขณะที่มีการสื่อสารข้อมูล ผู้รับข้อมูลจะต้องรอให้ผู้ส่งส่งข้อมูลเสร็จสิ้นก่อนจึงจะสามารถส่งข้อมูล ได้ การสื่อสารข้อมูลประเภทนี้ นิยมใช้ในเฉพาะกลุ่ม เช่น วิทยุสื่อสาร
3.การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission) ผู้สื่อสารสามารถส่งข้อมูลโต้ตอบกันได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ผู้ส่งข้อมูล เสร็จก่อน ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน เช่น การคุยโทรศัพท์ การแชทในอินเทอร์เน็ต

ชนิดของสัญญาณ แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.สัญญาณอนาล็อค(Analog Signal) มีลักษณะเป็นสัญญาณต่อเนื่องในรูปแบบคลื่น สามารถแทนลักษณะของสัญญาณได้ด้วยรูปกราฟคลื่นไซน์ (Sine Wave)
ตัวอย่างของสัญญาณอนาล็อคเช่น สัญญาณเสียง ในสายโทรศัพท์และสัญญาณเสียงจากสถานีวิทยุ
2.สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) มีลักษณะเป็นสัญญาณไม่ต่อเนื่องในรูปแบบกราฟสี่เหลี่ยม (Square Graph) มีคุณภาพและแม่นยำกว่า สัญญาณอนาล็อค
                   
การถ่ายโอนข้อมูล 
การถ่ายโอนข้อมูล คือ การส่งข้อมูลระหว่างฮาร์ดแวร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง แบ่
1.การส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนุกรม(Serial Data Transmission)
คือ การส่งสัญญาณข้อมูลครั้งละ 1 บิต เรียงไปบนสายสัญญาณเส้นเดียวจนครบ การส่งสัญญาณรูปแบบนี้สื่อที่ใช้มีเพียงหนึ่งช่องสัญญาณ จึงมีราคาถูกกว่าสื่อที่มีหลายช่องสัญญาณ แต่การส่งข้อมูลลักษณะนี้จะช้า



2.การส่งสัญญาณข้อมูลแบบขนาน (Parallel Data Transmission) คือ การส่งข้อมูลครั้งละหลายๆบิตขนานกันไปบนสายสัญญาณตามจำนวนบิตของข้อมูลนั้น เร็วกว่าอนุกรม แต่ต้องใช้สื่อที่มีคุณภาพสูงและราคาแพง



ตัวกลาง(Media)
เป็นองค์ประกอบสำคัญของการถ่ายโอนและการสื่อสารข้อมูล ในการเลือกใช้ตัวกลางควรเลือกใช้ให้เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพและประหยัด แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย-เป็นตัวกลางที่สามารถบังคับให้เคลื่อนที่ไปได้ตามทิศทางที่กำหนด
2.สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย-เป็นตัวกลางที่ไม่สามารถบังคับให้เคลื่อนที่ไปได้ตามทิศทางที่ต้องการได้
ตัวอย่างตัวกลางที่ใช้ในปัจจุบัน
1.สายคู่บิดเกลียว-ลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป ราคาไม่แพงน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย ภายในประกอบด้วยสายทองแดงพันเป็นเกลียวคู่ๆอาจมี 2 4 หรือ 6 คู่ สายทองแดงแต่ล่ะเส้นจะมีพลาสติกบางๆหุ้มเพื่อป้องกันการสูญเสียไฟฟ้า การพันสายทองแดงเป็นเกลียวเพื่อลดการรบกวนจากสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า จากคู่สายข้างเคียง
 
                                                                          สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชั้นโลหะห่อหุ้ม         
                                                                            สายคู่บิดเกลียวแบบมีชั้นโลหะห่อหุ้ม   

2.สายตัวนำร่วมแกนหรือสายโคแอกเชียล-เป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะคล้ายกับสายเคเบิลทีวี มีน้ำหนักและราคาแพงกว่าสายคู่บิดเกลียว แต่มีความเร็วในการรับส่งสัญญาณสูง
 
3. สายใยแก้วนำแสง-เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาคุณสมบัติของใยแก้วที่เรียบ มีน้ำหนักเบา และมีขนาดเล็กมาก การส่งข้อมูล
 การส่งข้อมูลสามารถส่งได้เท่ากับความเร็วแสง
                                                   

4.แสงอินฟราเรด(Infrared) เป็นสัญญาณข้อมูลที่มีความถี่สั้น นิยมใช้ในการสื่อสารระยะใกล้ๆ เช่น การกดรีโมตคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ เนื่องจากมีความถี่สั้นจึงไม่สามารถส่งข้อมูลทะลุผ่านวัตถุทึบแสงได้

                                                         

5.สัญญาณวิทยุ-มีลักษณะการส่งสัญญาณได้ในระดับความถี่ต่างกันตามชนิดของคลื่นนั้นๆ โดยสามารถส่งสัญญาณได้ในระยะทางไกลๆ เนื่องจากมีอากาศเป็นตัวกลาง เมื่อสถาพอากาศไม่ดีจึงมีผลต่อการส่งสัญญาณ
                                              
6.สัญญาณไมโครเวฟ-เป็นการสื่อสารไร้สายที่เป็นคลื่นวิทยุที่มีความถี่ในระดับกิกะเฮิร์ซ โดยจะส่งสัญญาณไมโครเวฟจากเสาไมโครเวฟต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง เป็นแนวเส้นตรง
                                                        
7.ดาวเทียม-เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกไปยังดาวเทียม โดยที่พื้นโลกจะมีสถานีส่งสัญญาณ ทำการส่งสัญญาณไปยังดาวเทียมที่โคจรนอกโลก เรียกว่า อัปลิงค์ จากนั้นดาวเทียมจะทวนและกระจายสัญญาณส่งกลับมายังพื้นโลก เรียกว่า ดาวน์ลิงก์ และเนื่องจากดาวเทียมโคจรไปพร้อมกับโลก ทำให้รับและส่งสัญญาณได้ตลอดเวลา หากใช้ดาวเทียม 3 ดวงจะทำให้สามารถรับและส่งสัญญาณได้ทั่วโลก 



ระบบบัส (System Bus) คือ วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณข้อมูลระหว่างฮาร์ดแวร์ใน คอมพิวเตอร์ เพื่อถ่ายโอนข้อมูลและติดต่อสื่อสารระหว่างฮาร์ดแวร์
1.บัสข้อมูล (Data Bus)-ใช้สำหรับส่งข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าซึ่งบัสข้อมูลจะต้องมีค่าตำแหน่งของฮาร์ดแวร์ตรงกับบัสตำแหน่งที่กำหนดไว้
2.บัสตำแหน่ง (Address Bus)-เป็นข้อมูลที่บอกตำแหน่งในหน่อยความจำและระบุตำแหน่งการรับและส่งข้อมูลของพอร์ตด้วย
3.บัสควบคุม (Control Bus)-มีลักษณะเป็นสัญญาณควบคุมพื้นฐาน
พัฒนาการของพีซีบัส (PC Bus)
ผู้ผลิตและพัฒนาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์จำเป็นต้องผลิตและพัฒนาระบบบัสควบคู่กับ ฮาร์ดแวร์ เพื่อให้ฮาร์ดแวร์สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วโดยพัฒนาการของพีซีบัสมีดังต่อ ไปนี้
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ การนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่อง ขึ้นไปมาเชื่อมต่อผ่านสื่อ เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างผู้ใช้งาน โดยมีการสำรองข้อมูลและช่วยให้สามารถควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือ อุปกรณ์ต่างๆในระยะทางไกลได้


ประเภทของคอมพิวเตอร์
 1.เครื่องเซิร์ฟเวอร์(Sever) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆแก่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในเครือข่าย
 2.เครื่องไคลเอนต์(Client) คือ เครื่องลูกข่าย หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ร้องขอบริการไปยังเครื่องแม่ข่ายหรือเครื่อง
โครงสร้างเครือข่าย
โครงสร้างเครือข่าย คือ ลักษณะหรือรูปแบบของการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดระบบเครือข่าย
 1. เครือข่ายแบบบัส (Bus Topology) มีลักษณะการเชื่อมต่อโดยใช้สายส่งข้อมูลหลักเป็นแกนกลาง โดยสายส่งข้อมูลหลักจะมีลักษณะเป็นเส้นตรง


2.เครือข่ายแบบดาว (Star topology) มีลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายมายังจุดศูนย์กลางเครือข่ายคล้ายดาวมีแฉก 



3.เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology) มีลักษณะการเชื่อมต่อคล้ายวงแหวน โดยจะเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งถัดไปเรื่อยๆ


4.เครือข่ายแบบตาข่าย (Mesh Topology)  
มี ลักษณะการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายถึงกันหมดทุกเครื่อง โดยะเชื่อมต่อสายสัญญาณจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์ทุก เครื่อง


ชนิดของเครือข่าย
1. เครือข่ายแบบส่วนบุคคล (PAN Personal Area Network) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อจุดประสงค์หลักในการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายโอนข้อมูล
2. เครือข่ายแบบท้องถิ่น (LAN: Local Area Network) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในระยะทางใกล้ที่จำกัด มักมีระยะทางการเชื่อมต่อประมาณ 10 กิโลเมตร จุดประสงค์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบนี้ มักใช้เพื่อติดต่อสื่อสารกันภายในกลุ่มเล็กๆ
3. เครือข่ายแบบเชื่อมโยงภายในเมืองเดียวกัน (MAN: Metropolitan Area Network) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มีพื้นที่การทำงานครอบคลุมทั่วทั้งตำบลหรืออำเภอ
4. เครือข่ายแบบระยะใกล้ (WAN: Wide Area Network) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขาดใหญ่มากโดยเชื่อมโยงเครือข่ายทุกประเภทเข้าด้วยกันมีพื้นที่ครอบคลุมทั่วโลก

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่ 2 (คอมพิวเตอร์)

ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กหรอนิกส์ที่มีความสามารถทำให้การทำงานด้านต่างๆมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยหน่วยงานหลักๆ 4 หน่วย ได้แก่
1.หน่วยรับข้อมูล (Input  Unit)  เป็น ส่วนที่ทำหน้าที่รับคำสั่งและข้อมูลจากภายนอกในรูปที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ เพื่อนำไปประมวลผลหรือดำเนินการให้เป็นผลลัพธ์ที่ต้องการ  
                                    
2.หน่วยประมวลผลกลาง  หรือซีพียู  (Control  Processing  Unit  - CPU)
เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก  ซึ่งประกอบด้วยทรานซิสเตอร์จำนวนมากที่ทำงานร่วมกัน  ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน  คือ
2.1 หน่วยควบคุม (Control  Unit) ทำหน้าที่ควบคุมส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์  ให้ทำงานประสานกันได้ดี  
2.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ  (Arithmetic/Logic Unit – ALU) ทำหน้าที่เสมือนเป็นเครื่องคิดเลขของคอมพิวเตอร์  ทำหน้าที่ต่าง ๆ  เช่น การคำนวณบวก  ลบ  คูณ  หาร และข้อมูลทางตรรกศาสตร์
                                         

3.หน่วยความจำ (Memory Unit)
ทำหน้าที่จัดเก็บคำสั่งและข้อมูลเพื่อการดำเนินการของคอมพิวเตอร์  หน่วยความจำจำแนกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่  หน่วยความจำหลัก  และหน่วยความจำสำรอง
3.1 หน่วยความจำหลัก (Primary  Memory  หรือ Main Memory ) เป็นส่วนที่ใช้เก็บคำสั่งที่ต้องการ  เปรียบเหมือนสมองของมนุษย์  โดยหน่วยความจำหลักที่หากพิจารณาตามความถาวรและความคงอยู่ของข้อมูลสามารถ แบ่งได้ 2 ประเภท
1.)หน่วยความจำถาวร  หรือ รอม  (Read  Only Memory -  ROM) ส่วนใหญ่มักจะเก็บไว้ในโปรแกรมระบบ (System  Software) ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปรงแก้ไขได้
2.)หน่วยความจำชั่วคราว  หรือ แรม (Random Access Memory- Ram) เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลไว้ชั่วคราวที่หน่วยประมวลผลกลาง  และเรียกใช้ในระหว่างทำงานได้แต่มีข้อเสียถ้าไฟดับหรือปิดเครื่องข้อมูลจะ สูญหายทันที  โดยถ้าต้องการเก็บในหน่วยความจำ
3.2 หน่วยความจำสำรอง  หรือหน่วยความจำภายนอก  (Secondary Memory or External  Memmory) โดยมีการทำงานช้ากว่าหน่วยความจำหลัก  แต่เก็บบันทึกข้อมูลได้อย่างถาวร  และไม่สูญหายกรณีไฟดับหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ขัดข้อง
            อุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลประเภทนี้  เช่น  แผ่นดิสเก็ตต์  แผ่นซีดี รอม ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) แผ่นดีวีดี (Disk Video  Disc- DVD) แผ่นซีดี (Compact Disc –CD) เป็นต้น
                                 



4.หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน้าที่แสดงผลหรือให้คำตอบกับผู้ใช้  เป็นหน่วยโต้ตอบกับผู้ใช้  เปรียบเหมือนปากสำหรับพูด  อุปกรณ์แสดงผลของคอมพิวเตอร์อาจจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ อุปกรณ์แสดงผลแบบชั่วคราว เช่น จอภาพ  ลำโพง  เป็น  และอุปกรณ์กลุ่มที่แสดงผล  แบบถาวร  เช่น  เครื่องพิมพ์  เครื่องวาดรูปพล็อตเตอร์  (Plotter)

                                  

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่


1.ฮาร์ดแวร์(Hard ware)หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง  รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น

1.แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด-ทำหน้าที่รับข้อมูลตัวหนังสือด้วยการกดที่แป้นพิมพ์
2.เมาส์-ทำหน้าที่รับข้อมูล ด้วยการควบคุมตัวชี้ตำแหน่ง
3.สแกนเนอร์-รับข้อมูลที่ได้จากการแปลงค่าแสงที่ตกกระทบวัตถุ
4.กล้องวีดีโอดิจิทัล-รับข้อมูลประเภทภาพเคลื่อนไหว
 5.กล้องวีดีโอพีซี-ถ่ายทอดภาพเคลื่อนไหวของคู่สนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(เว็ปแคม)



6.การ์ดแสดงผล-ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณอนาล็อก เพื่อประมวลภาพส่งไปที่จอภาพ
7.การ์ดเสียง-คล้ายกับการ์ดแสดงผล ทำหน้าที่รับข้อมูลมาประมวลผลแล้วเสียงส่งไปยังลำโพง

8.การ์ดเครือข่าย หรือ นิกส์-ทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับฮาร์ดแวร์อื่นๆ
9.เมนบอร์ด หรือ มาเตอร์บอร์ด-เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆส่วนเข้าด้วยกัน

10.ฮาร์ดดิสก์-บันทึกข้อมูลหลักที่ใช้กับคอมพิวเตอร์

11.เครื่องอ่านเขียนแผ่นดีวีดี-มีหน้าที่อ่านและบันทึกข้อมูลด้วยแผ่นดีวีดี

12.จอภาำพ-ทำหน้าที่แสดงผลเพื่อสื่อสารกับผู้ใช้เป็นหลัก

13.ลำโพง-ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลในรูปแบบเสียง
14.เครื่องพิมพ์-ทำหน้าที่ในแสดงข้อมูลในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ 

15.ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์-ทำหน้าที่จัดเก็บหรือบันทึกข้อมูล นิยมใช้เพราะสวยงาม ขนาดพกพาสะดวก

16.เคส-ทำหน้าที่ติดตั้งฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ลักษณะเป็นกล่อง

2.ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรม  เป็นองค์ประกอบสำคัญของสำคัญลำดับสอง  เป็นสำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน  เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลตามความต้องการในการใช้งานต่าง ๆ 
 
ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น2 ประเภท ได้แก่ 
1.)ซอฟต์แวร์ระบบ-เป็น โปรแกรมหรือคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์อื่นๆที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือ ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้ โปรแกรมประยุกต์ และฮาร์ดแวร์ เช่น 
                                                          Windows xp
                                                         Windows vista
                                                               Linux
                                                             Winzip                                         
                                             
                                                      Windows Explorer
2.)ซอฟต์แวร์ประยุกต์-เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านต่างๆตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น
                                                     

                                                        Microsoft Office
                                                        Adobe Photoshop
                                                 Windows Media Player

3. ข้อมูลและสารสนเทศ  เป็นข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในการเนินการปฏิบัติงาน  จัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง  และเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการทำงานของผู้ใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ได้  ข้อมูลต้องมาจากแหล่งกำเนิด  มีความถูกต้อง  กลั่นกรองตรวจสอบ  และมีมาตรฐานโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการค้นหาที่รวด เร็วและมีประสิทธิภาพ
              
                           ตารางแสดงค่าความจุของหน่วยความจำ

4. บุคลากร (Peepleware) เป็นบุคลากรที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งในระดับผู้ใช้ผู้บริหาร  ผู้พัฒนาระบบ  นักวิเคราะห์ระบบ  นักเขียนโปรแกรม  เป็นต้น  เป็นองค์ประกอบสำคัญในโอกาสที่จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพย่อมมีมาก ขึ้นเท่านั้น
     ผู้ใช้ สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่
1.)ผู้ใช้งานตามบ้าน คือ ผู้มช้งานทั่วไป ที่ใช้ตอมพิวเตอร์ในสมรรถนะต่ำถึงปานกลาง
2.)ผู้ใช้งานตามสำนักงานขนาดเล็กและผู้ใช้งานในรูปแบบของสำนักงานตามบ้าน คือ ผู้ใช้งานที่มีการรวมกลุ่มเพื่อประกอบธุรกิจขนาดเล็ก มักมีไม่เกิน 50 คน
3.)ผู้ใช้งานที่ต้องการความคล่องตัว คือ ผู้ใช้งานที่นิยมใช้เทคโนโลยีไร้สายในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มสมรรถนะและความคล่องตัวในการทำงาน
4.)ผู้ใช้งานตามสำนักงานขนาดใหญ่ คือ ผู้ใช้งานที่มีการรวมตัวกันมากกว่า 50 คนขึ้นไป เพื่อประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ 
5.กระบวนการ คือ ขั้นตอนการทำงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น
1.ผู้ใช้ศึกษาวิธีการใช้งาน
2.เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
3.คอมพิวเตอร์เปิดซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ
4.ผู้ใช้เลือกใช้ซอฟต์แวร์
5.ผู้ใช้ป้อนข้อมูลด้วยฮาร์ดแวร์
6.หน่วยรับข้อมูลรับข้อมูลส่งไปยังหน่วยประมวลผล
7.หน่วยประมวลผลประมวลผลข้อมูลส่งไปยังหน่วยแสดงผล
8.ผู้ใช้วิเคราะห์สารสนเทศจากการประมวลผลผ่านฮาร์ดแวร์
9.ผู้ใช้สามารถบันทึกสารสนเทศลงในหน่วยความจำสำรอง