วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่ 2 (คอมพิวเตอร์)

ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กหรอนิกส์ที่มีความสามารถทำให้การทำงานด้านต่างๆมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยหน่วยงานหลักๆ 4 หน่วย ได้แก่
1.หน่วยรับข้อมูล (Input  Unit)  เป็น ส่วนที่ทำหน้าที่รับคำสั่งและข้อมูลจากภายนอกในรูปที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ เพื่อนำไปประมวลผลหรือดำเนินการให้เป็นผลลัพธ์ที่ต้องการ  
                                    
2.หน่วยประมวลผลกลาง  หรือซีพียู  (Control  Processing  Unit  - CPU)
เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก  ซึ่งประกอบด้วยทรานซิสเตอร์จำนวนมากที่ทำงานร่วมกัน  ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน  คือ
2.1 หน่วยควบคุม (Control  Unit) ทำหน้าที่ควบคุมส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์  ให้ทำงานประสานกันได้ดี  
2.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ  (Arithmetic/Logic Unit – ALU) ทำหน้าที่เสมือนเป็นเครื่องคิดเลขของคอมพิวเตอร์  ทำหน้าที่ต่าง ๆ  เช่น การคำนวณบวก  ลบ  คูณ  หาร และข้อมูลทางตรรกศาสตร์
                                         

3.หน่วยความจำ (Memory Unit)
ทำหน้าที่จัดเก็บคำสั่งและข้อมูลเพื่อการดำเนินการของคอมพิวเตอร์  หน่วยความจำจำแนกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่  หน่วยความจำหลัก  และหน่วยความจำสำรอง
3.1 หน่วยความจำหลัก (Primary  Memory  หรือ Main Memory ) เป็นส่วนที่ใช้เก็บคำสั่งที่ต้องการ  เปรียบเหมือนสมองของมนุษย์  โดยหน่วยความจำหลักที่หากพิจารณาตามความถาวรและความคงอยู่ของข้อมูลสามารถ แบ่งได้ 2 ประเภท
1.)หน่วยความจำถาวร  หรือ รอม  (Read  Only Memory -  ROM) ส่วนใหญ่มักจะเก็บไว้ในโปรแกรมระบบ (System  Software) ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปรงแก้ไขได้
2.)หน่วยความจำชั่วคราว  หรือ แรม (Random Access Memory- Ram) เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลไว้ชั่วคราวที่หน่วยประมวลผลกลาง  และเรียกใช้ในระหว่างทำงานได้แต่มีข้อเสียถ้าไฟดับหรือปิดเครื่องข้อมูลจะ สูญหายทันที  โดยถ้าต้องการเก็บในหน่วยความจำ
3.2 หน่วยความจำสำรอง  หรือหน่วยความจำภายนอก  (Secondary Memory or External  Memmory) โดยมีการทำงานช้ากว่าหน่วยความจำหลัก  แต่เก็บบันทึกข้อมูลได้อย่างถาวร  และไม่สูญหายกรณีไฟดับหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ขัดข้อง
            อุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลประเภทนี้  เช่น  แผ่นดิสเก็ตต์  แผ่นซีดี รอม ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) แผ่นดีวีดี (Disk Video  Disc- DVD) แผ่นซีดี (Compact Disc –CD) เป็นต้น
                                 



4.หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน้าที่แสดงผลหรือให้คำตอบกับผู้ใช้  เป็นหน่วยโต้ตอบกับผู้ใช้  เปรียบเหมือนปากสำหรับพูด  อุปกรณ์แสดงผลของคอมพิวเตอร์อาจจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ อุปกรณ์แสดงผลแบบชั่วคราว เช่น จอภาพ  ลำโพง  เป็น  และอุปกรณ์กลุ่มที่แสดงผล  แบบถาวร  เช่น  เครื่องพิมพ์  เครื่องวาดรูปพล็อตเตอร์  (Plotter)

                                  

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่


1.ฮาร์ดแวร์(Hard ware)หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง  รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น

1.แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด-ทำหน้าที่รับข้อมูลตัวหนังสือด้วยการกดที่แป้นพิมพ์
2.เมาส์-ทำหน้าที่รับข้อมูล ด้วยการควบคุมตัวชี้ตำแหน่ง
3.สแกนเนอร์-รับข้อมูลที่ได้จากการแปลงค่าแสงที่ตกกระทบวัตถุ
4.กล้องวีดีโอดิจิทัล-รับข้อมูลประเภทภาพเคลื่อนไหว
 5.กล้องวีดีโอพีซี-ถ่ายทอดภาพเคลื่อนไหวของคู่สนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(เว็ปแคม)



6.การ์ดแสดงผล-ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณอนาล็อก เพื่อประมวลภาพส่งไปที่จอภาพ
7.การ์ดเสียง-คล้ายกับการ์ดแสดงผล ทำหน้าที่รับข้อมูลมาประมวลผลแล้วเสียงส่งไปยังลำโพง

8.การ์ดเครือข่าย หรือ นิกส์-ทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับฮาร์ดแวร์อื่นๆ
9.เมนบอร์ด หรือ มาเตอร์บอร์ด-เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆส่วนเข้าด้วยกัน

10.ฮาร์ดดิสก์-บันทึกข้อมูลหลักที่ใช้กับคอมพิวเตอร์

11.เครื่องอ่านเขียนแผ่นดีวีดี-มีหน้าที่อ่านและบันทึกข้อมูลด้วยแผ่นดีวีดี

12.จอภาำพ-ทำหน้าที่แสดงผลเพื่อสื่อสารกับผู้ใช้เป็นหลัก

13.ลำโพง-ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลในรูปแบบเสียง
14.เครื่องพิมพ์-ทำหน้าที่ในแสดงข้อมูลในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ 

15.ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์-ทำหน้าที่จัดเก็บหรือบันทึกข้อมูล นิยมใช้เพราะสวยงาม ขนาดพกพาสะดวก

16.เคส-ทำหน้าที่ติดตั้งฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ลักษณะเป็นกล่อง

2.ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรม  เป็นองค์ประกอบสำคัญของสำคัญลำดับสอง  เป็นสำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน  เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลตามความต้องการในการใช้งานต่าง ๆ 
 
ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น2 ประเภท ได้แก่ 
1.)ซอฟต์แวร์ระบบ-เป็น โปรแกรมหรือคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และ อุปกรณ์อื่นๆที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือ ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้ โปรแกรมประยุกต์ และฮาร์ดแวร์ เช่น 
                                                          Windows xp
                                                         Windows vista
                                                               Linux
                                                             Winzip                                         
                                             
                                                      Windows Explorer
2.)ซอฟต์แวร์ประยุกต์-เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านต่างๆตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น
                                                     

                                                        Microsoft Office
                                                        Adobe Photoshop
                                                 Windows Media Player

3. ข้อมูลและสารสนเทศ  เป็นข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในการเนินการปฏิบัติงาน  จัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง  และเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการทำงานของผู้ใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ได้  ข้อมูลต้องมาจากแหล่งกำเนิด  มีความถูกต้อง  กลั่นกรองตรวจสอบ  และมีมาตรฐานโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการค้นหาที่รวด เร็วและมีประสิทธิภาพ
              
                           ตารางแสดงค่าความจุของหน่วยความจำ

4. บุคลากร (Peepleware) เป็นบุคลากรที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งในระดับผู้ใช้ผู้บริหาร  ผู้พัฒนาระบบ  นักวิเคราะห์ระบบ  นักเขียนโปรแกรม  เป็นต้น  เป็นองค์ประกอบสำคัญในโอกาสที่จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพย่อมมีมาก ขึ้นเท่านั้น
     ผู้ใช้ สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่
1.)ผู้ใช้งานตามบ้าน คือ ผู้มช้งานทั่วไป ที่ใช้ตอมพิวเตอร์ในสมรรถนะต่ำถึงปานกลาง
2.)ผู้ใช้งานตามสำนักงานขนาดเล็กและผู้ใช้งานในรูปแบบของสำนักงานตามบ้าน คือ ผู้ใช้งานที่มีการรวมกลุ่มเพื่อประกอบธุรกิจขนาดเล็ก มักมีไม่เกิน 50 คน
3.)ผู้ใช้งานที่ต้องการความคล่องตัว คือ ผู้ใช้งานที่นิยมใช้เทคโนโลยีไร้สายในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มสมรรถนะและความคล่องตัวในการทำงาน
4.)ผู้ใช้งานตามสำนักงานขนาดใหญ่ คือ ผู้ใช้งานที่มีการรวมตัวกันมากกว่า 50 คนขึ้นไป เพื่อประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ 
5.กระบวนการ คือ ขั้นตอนการทำงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น
1.ผู้ใช้ศึกษาวิธีการใช้งาน
2.เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
3.คอมพิวเตอร์เปิดซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ
4.ผู้ใช้เลือกใช้ซอฟต์แวร์
5.ผู้ใช้ป้อนข้อมูลด้วยฮาร์ดแวร์
6.หน่วยรับข้อมูลรับข้อมูลส่งไปยังหน่วยประมวลผล
7.หน่วยประมวลผลประมวลผลข้อมูลส่งไปยังหน่วยแสดงผล
8.ผู้ใช้วิเคราะห์สารสนเทศจากการประมวลผลผ่านฮาร์ดแวร์
9.ผู้ใช้สามารถบันทึกสารสนเทศลงในหน่วยความจำสำรอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น