วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่ 4 เรื่อง อินเทอร์เน็ต

            อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และอนุญาตให้มีการเข้าถึงสารสนเทศและการบริการในรูปแบบของสาธารณะ(Public) ผู้ใช้นิยมนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อไปยังModem เพื่อแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านสายโทรศัพท์ไปยังโมเด็มที่เชื่อมต่อกับไอเอสพี(ISP:Internet Service Provider) ซึ่ง ทำหน้าที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ใช้บริการในประเทศแต่ละเครื่องเข้าด้วยกัน แล้วจึงเชื่อมตัวกับระบบเครือข่ายจากทั่วโลกอีกทีหนึ่ง
                ในการเข้าแต่ละเว็ปไซต์จะต้องพิมพ์ยูอาร์แอลของแต่ละเว็ปไซต์ลงไปในแอดเดรสบาร์ โดยมีหมายเลขไอพี เป็นตัวเลข 4 ชุด มีจุดคั่นเลขแต่ละชุด  โดยเลขแต่ละชุดจะมีค่าอยู่ระหว่าง0-255 เช่น 152.168.03.15 แต่เนื่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยาก จึงมีการกำหนดชื่อเพื่อใช้แทน เรียกว่า ระบบชื่อโดเมน เช่น www.google.co.th โดย www. คือ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ saim คือ ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น co คือ ชื่อโดเมนย่อย th คือ รหัสประเทศ
การสืบค้นข้อมูล
         เสิร์ชเอนจิ้น (Search Engines) คือ เครื่องมือที่ช่วยเหลือผู้ใช้งานในการค้นหาข้อมูลต่างๆบนอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ที่เปิดให้บริการ เรียกว่า เสิร์ชเอนจิ้นไซต์(Search Engine Site) มีหลักการทำงานโดยการรวบรวมเอกสารเว็บไซต์ เพื่อ สำรวจเว็บไซต์จากโดเมนต่างๆ แล้วรวบรวมเป็นฐานข้อมูล จัดเป็นรายการดัชนีตามที่ผู้สร่างกำหนด หากมีเว็บไซต์มีการเปลี่ยนแปลงก็จะทำการเปลี่ยนแปลงโดยอัตโนมัติ โดยสามารถแบ่งตามลักษณะฐานข้อมูลออกเป็น 5 ประเภท
1.การค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ เป็นการค้นหาข้อมูลโดยสำรวจข้อความเบื้องต้นของเว็บไซต์ หากตรงกับคำที่ค้นหาก็จะแสดงข้อมูล แสดงได้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่ละเอียด
2.การค้นหาข้อมูลจากหมวดหมู่ เป็นค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ผ่านการวิเคราะห์รายละเอียดของเนื้อหา โดยแยกประเภทเป็นหมวดหมู่ตามวิจารณญาณของผู้สร้าง ช้ากว่าการหาจากคำสำคัญ แต่ตรงตามความต้องการ
3.การค้นหาข้อมูลจากเสิร์ชเอนจิ้นหลายๆเว็บไซต์ เป็นการค้นหาจากการเข้าถึงเว็บไซต์ ที่มีข้อมูลที่ค้นหามาแทนที่โดยตรง ไม่จัดเป็นเสิร์ชเอนจิ้นที่แท้จริง เพราะไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง
4.การค้นหาข้อมูลจากภาษาธรรมชาติ เป็นการพัฒนาเสิร์ชเอนจิ้นให้เข้าใจภาษาธรรมชาติหรือคำถามจากมนุษย์เพิ่มเติมจากการใช้คำสำคัญ
 5.การค้นหาข้อมูลเฉพาะทาง สร้างขึ้นเพื่อค้นหาข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะนำเสนอเฉพาะข้อมูลที่กำหนดไว้เท่านั้น ผู้ให้บริการมักเป็นหน่วยงานหรือองค์กรเฉพาะด้านนั้นๆ ข้อมูลที่ได้จะไม่ได้มาจากเสิร์ชเอนจิ้นอื่น

เทคนิคการค้นหาข้อมูล
เสิร์ชเอนจิ้น-ควรค้นหาจากเสิร์ชเอนจิ้นมากกว่า 1 เว็บไซต์ในช่วงเวลาที่ต่างกัน
วิธีการใช้งาน-ควรศึกษาการใช้งานเสิร์ชเอนจิ้น เพื่อให้สามารถกำหนดค่าของการค้นหาได้ตรงต่อความต้องการมากที่สุด
หัวข้อที่ต้องการ-ควรกำหนดสิ่งที่ต้องการหาให้ชัดเจน
คำสำคัญในการค้นหา-ควรกำหนดคำสำคัญเป็นคำนาม ศัพท์ทางวิชาการ หรือศัพท์ที่ใช้ทั่วไป และหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาพูดในการค้นหา และ ไม่ควรกำหนดคำสำคัญที่มีความหมายกว้างเกินไป
การค้นหา-ควรค้นหาข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกำคำสำคัญด้วย
คำสำคัญที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ คำที่มีตัวเลข หรือ เว้นวรรค  หากจำเป็นต้องใส่เครื่องหมาย “ ” ครอบคำสำคัญนั้นไว้เพื่อรวมคำในเครื่องหมายให้เป็นคำเดียวกัน
การใช้เครื่องหมาย  เติมเครื่องหมายหน้าคำสำคัญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหา เช่น
เครื่องหมาย + เมื่อต้องการให้ค้นหาคำสำคัญอื่นๆเพิ่มเติม
เครื่องหมาย – เมื่อไม่ต้องการให้คำสำคัญนั้นอยู่ในข้อมูลที่ค้นหา
เครื่องหมาย * แทนกลุ่มคำหรือประโยคที่ผู้ใช้ไม่เฉพาะเจาะจง
เครื่องหมาย ~ เพื่อแทนคำสำคัญที่มีความหมายใกล้เคียงกัน
ตัวกระทำตรรกศาสตร์ ควรเลือกใช้ตัวกระทำทางตรรกศาสตร์เชื่อมคำสำคัญ 2 คำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
1.ควรระลึกเสมอว่าผู้ใช้งานทุกคนในอินเทอร์เน็ตคือมนุษย์ มีอารมณ์และความรู้สึก
2.ควรยึดมารยาทปกติทั่วไปในการดำเนินชีวิต
3.ควรระลึกไว้เสมอว่าไม่มีความลับใดในอินเทอร์เน็ต
4.ควรศึกษาหลักการปฏิบัติหรือกฎข้อบังคับของการใช้อินเทอร์เน็ต
5.ควรคำนึงถึงคุณภาพของข้อมูลที่ส่งไปยังอินเทอร์เน็ตว่ามีประโยชน์หรือคุณค่าหรือไม่
6.ควรเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสม ไม่หยาบคาย ถูกกาลเทศะ
7.ควรใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ
8.ไม่ส่งเสริมให้เกิดความแตกแยกหรือการทะเลาะวิวาทในอินเทอร์เน็ต
9.ควรใช้ข้อมูลตนเองในการเชื่อมต่อ
10.ไม่ใช้ความรู้ ความสามารถ หรืออำนาจทางการทำงานในทางที่ผิด
11.ใช้ข้อมูล ความรู้ และคำแนะนำให้เป็นประโยชน์
12.ควรใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์คุณค่ามากที่สุด
13.การนำข้อมูลมาก ควรมีการอ้างอิงแหล่งที่มา
14.หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นในแง่ลบ
15.ไม่ควรนำความลับของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อสนทนาในอินเทอร์เน็ต
16.ไม่ส่งของความหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์รบกวน
17.ผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จะต้องใช้ภาษาที่สุภาพและเป็นทางการ
18.ไม่เผยแพร่หรือโฆษณาเกินความจริง
19.ไม่นำเสนอหรือส่งเสริมการค้าผิดกฎหมาย
20.ไม่เผยแพร่โปรแกรมหรือไวรัสคอมพิวเตอร์
21.การแสดงความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ตจะต้องมีความรู้ และใช้ถ้อยคำที่สุภาพ
22.การสื่อสารข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ควรติดต่อกลับการสนทนาให้เร็วที่สุด
23.ไม่ควรแสดงความเห็นที่ไม่เหมาะสมต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
24.การตั้งกระทู้ในอินเทอร์เน็ตจะต้องรับผิดชอบกระทู้ของตน
25.ใช้อินเทอร์เน็ตโดยคำนึงถึงสิทธิของผู้อื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น