วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่ 6 เรื่อง จริยธรรมและความปลอดภัย

จริยธรรมและพระราชบัญญัติฯคอมพิวเตอร์

  จริยธรรม(Ethics)ใน ความหมายทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางการใช้คอมพิวเตอร์กระทำในสิ่งที่ถูกต้อง และหลีกเลี่ยงการกระทำความผิดต่อผู้อื่น  เช่น การใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ การโฆษณาเกินจริง การกระทำที่ก่อให้เกิดความรำคาญและเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เป็นต้น
       ปัจจุบันมีการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยสรุปลักษณะการกระทำความผิดและบทลงโทษ ดังนี้
1.มาตรา 1-4 กล่าวถึง ข้อกำหนดการใช้และความหมายของคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติฯคอมพิวเตอร์
2.มาตรา 5-17 อยู่ในหมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นมาตราที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั่วไป ซึ่งสามารถสรุปการกระทำความผิดและบทลงโทษได้ดังนี้
                มาตรา 5  ห้ามไม่ให้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่มีมาตรการป้องกัน หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท
                มาตรา 6 ห้ามไม่ให้นำข้อมูลของผู้อื่นไปเผยแพร่จนเกิดความเสียหาย หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท
                มาตรา 7 ห้ามไม่ให้เข้าใช้ข้อมูลของผู้อื่นที่มีมาตรการป้องกัน หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา 8 ห้ามไม่ให้ดักรับข้อมูลของผู้อื่นที่อยู่ในระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลนั้นไม่ได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสำหรับบุคคลทั่วไป หารกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา 9 ห้ามทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย ห้ามทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง และเพิ่มเติมบางส่วนหรือทั้งหมด หากกรทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา 10 ห้ามทำให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวางหรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                มาตรา 11 ห้ามส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้อื่นโดยปกปิดหรือ ปลอมแปลงแหล่งที่มาของข้อมูล ที่เป็นหารรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น  หากกระทำความผิดปรับไม่เกิน 100,000 บาท
                มาตรา 12 ถ้ากระทำความผิดในมาตรา 9 หรือ 10 แล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ต้องจำคุกไม่เกิน 10 ปี แลปรับไม่เกิน 200,000 บาท แต่หากก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่ เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของประเทศความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะจะต้องจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000-300,000 บาท แต่หากการกระทำความผิดดังกล่าวมีผลทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จะต้องจำคุกตั้งแต่ 10-20 ปี
                มาตรา 13 ห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปเป็นเครื่องมือในการกระทำผิดตาม มาตรา 5-11 หากกระทำความต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.มาตรา 18-30 อยู่ ในหมวด 2 พนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นมาตราที่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการสืบสวน และข้อกำหนดของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดเนินการต่อผู้กระทำความผิด

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

  อาชญากรรมคอมพิวเตอร์(Computer Crime หรือ Cyber Crime) คือ การกระทำความผิดทางกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ซึ่งมีลักษณะการกระทำความผิดและลักษณะผู้กระทำความผิด ดังนี้
ลักษณะการกระทำความผิด
ความผิดด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่มีอำนาจ คือ การเข้าไปใช้ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่งผล่อความครบถ้วนของข้อมูลและการรักษาความลับ สามารถทำได้ 3 รูปแบบ ได้แก่
1.)การเข้าถึงโดยการเจาะระบบ หรือ การบุกรุกทางคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลนั้นๆ
2.)การ ลักลอบดักข้อมูล คือ การใช้เทคนิคหรืออุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่าย เพื่อลักลอบดักฟัง ตรวจสอบ หรือติดตามข้อมูลที่สื่อสารระหว่างบุคคล
3.)การ รบกวนระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูล คือ การกระทำที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลของผู้อื่น มักใช้วิธีการนำไวรัสเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น และทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นทำงานช้าลงจนกระทั่งไม่สามารถใช้งานได้ เลย
4.)การใช้อุปกรณ์ในทางมิชอบ คือ การกระทำความผิดโดยการผลิต แจกจ่าย จำหน่าย ครอบครองอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ หรือส่งเสริมการกระทำความผิด เช่น อุปกรณ์เจาะระบบ โปรแกรมสำหรับถอดรหัสคอมพิวเตอร์ แต่ไม่รวมถึงอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อการป้องกันระบบหรือทดสอบระบบ
2.การใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบ เป็นการกระทำความผิดโดยใช้คอมพิวเตอร์ประกอบอาชญากรรมทุกรูปแบบ
3.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประกอบการกระทำความผิดต่างๆสามารถแบ่งลักษณะการกระทำความผิดได้ 3 ลักษณะ คือ
1.)การ ปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ กล่างถึงตั้งแต่การป้อนข้อมูลที่เป็นเท็จ การปลอมแปลงข้อมูลบางส่วน จนไปถึงการลบหรือย้ายข้อมูลออกจากสื่อที่ใช้ในการบันทึกนั้น
2.)การฉ้อโกง โดยมีเจตนาเพื่อทุจริต แก้ไข เปลี่ยนแปลง ลบ นำเข้า หรือรบกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ผู้อื่น
3.)การทำให้สื่อลามกอนาจารแพร่หลาย เป็นการกระทำความผิดโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ปรากฎแก่ผู้อื่น

ลักษณะผู้กระทำความผิด 
สามารถแบ่งลักษณะผู้กระทำความผิดตามเจตนาของผู้กระทำความผิดได้ ดังนี้
1.)มือสมัครเล่น มักทำความผิดเนื่องจากอยากรู้อยากเห็น หรือความคึกคะนองและไม่ได้ตั้งใจ โดยไม่มีเจตนาร้ายหรือประสงค์ร้ายต่อผู้อื่น
2.)แคร็กเกอร์ คือ ผู้บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น โดยจะพยายามเข้ามาในระบบ และสร้างความเสียหายให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูล
3.)อาชญากรมืออาชีพ จะเป็นคนที่มีความรู้ทางเทคนิคคอมพิวเตอร์ค่อนข้างสูง มีเครื่องมือที่ทันสมัยและเพียบพร้อม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหวังทรัพย์สินของผู้อื่น บางพวกอาจอยู่รวมกันเป็นองค์กร เรียกว่า Organized Crime

แนวทางการป้องกัน
การป้องกันอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติได้ 4 แนวทาง ดังนี้
1.การป้องกันข้อมูลส่วนตัว โดยการตั้งรหัสเข้าข้อมูลของไฟล์ข้อมูลที่ต้องการป้องกัน
2.การป้องกันการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การชื่อ Username และ Password,การใช้สมาร์ทการ์ดในการควบคุมการใช้งาน หรือกุญแจล็อกเพื่อป้องกันการใช้คอมพิวเตอร์โยไม่ได้รับอนุญาติ,การใช้ อุปกรณ์ทางชีวภาพ เช่น ตรวจสอบเสียง ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ลายเซ็ตน์ ม่านตา เป็นต้น
3.การสำรองข้อมูล โดยไม่เก็บข้อมูลไว้ที่เดียว สามารถสำรองไว้ในอุปกรณ์ที่ใช้อ่านอย่างเดียว เช่น แผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี
4.การติดตั้งโปรแกรมค้นหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นการป้องกันที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้หลากหลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น